นาตอง ข่าวจากนักวิจัย
เดือนกุมภาพันธ์ นักวิจัยไม่ได้ลงหลุมขุดกระดูกต่อ เพราะผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ว่างที่จะมาด้วย แต่ก็เที่ยวตะลอนไปหาครูบาอาจารย์นักโบราณคดีทั้งหลาย เล่าถึงสิ่งที่ขุดพบ และ รับฟังความคิดเห็นมา
สำหรับชุดฟันที่ขุดได้จากหลุมแรก ที่ฟันเรียบเสมอกันทั้งปาก ที่เคยบอกว่าน่าจะเป็นการตะไบฟัน เพื่อความสวยงามเหมือนกับคติของชนเผ่าหนึ่งในอาฟริกานั้น ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งบอกว่า น่าจะเป็นเพราะอาหารที่กิน เป็นเนื้อสด ผักดิบ จึงทำให้ฟันผุกร่อนไปขนาดนั้น
สำหรับหินกลมรูปโดนัท ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า เขาใช้วิธีไหนเจาะ ใช้ทรายกับไม้ไผ่ได้หรือไม่ และทำเพื่ออะไร จะเป็นเครื่องมือหรือสว่านแบบที่ชาวบ้านทำให้ดูใช่หรือไม่ ในเมื่อสมัยนั้นไม่มีโลหะที่จะนำมาเป็นดอกสว่าน
สำหรับขวานหิน ส่วนใหญ่เป็นหินแม่น้ำ นำมากะเทาะ มีอยู่อันหนึ่ง ที่เป็นหินสีเขียว กะเทาะแล้วก็นำมาขัดแต่งจนคม ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยามาดูว่า ถ้าเป็นหินที่ไม่มีในพื้นถิ่น เขาเอามาจากไหน มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันกับถิ่นอื่นหรืออย่างไร
สำหรับโครงกระดูกนั้น สันนิษฐานว่า สมัยนั้นอาจไม่มีเครื่องมือขุด จึงฝังไว้ตื้น ๆ เอาหินก้อนใหญ่กลบทับกันสัตว์ขุดคุ้ย ฝังแบบคว่ำหน้า ลงไป ขาที่ไปล่ไขว้กันนั้น ไม่น่าจะเป็นการมัด คงเป็นไปตามแรงถ่วงธรรมดาให้ไขว้กัน
ถ้าถึงขนาดนั้น เราจะต้องหาอายุหิน โดยวิธีใช้กัมมันตรังสี ต้องส่งไปอเมริกา ใช้เงินมากโขอยู่ ขอเงินชาวแพร่คนละ ๑ บาท ส่งกระดูกไปพิสูจน์ แล้วเราก็จะได้รู้กันแน่ ๆ ว่า “เธอ” หรือ “เขา” คนนั้นอายุเท่าไหร่
ลิงก์ที่เกี่ยวกับบทความ/สารคดี
-
http://www.tcdc.or.th/articles/others/16687/?fbclid=IwAR3VAWe4dlWplo7VqJdAuJT6uPoqTjPAGpa9Ju2fRqDMWRIsoqEzjIwd2zI#%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B...
5 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น