วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พิพิธภัณฑ์นาตอง ที่ 4 กับ เรื่องราวในหนังสือประวัติศาสตร์แพร่ บทที่ ๒  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเมืองแพร่  หลักฐานที่ค้นพบใหม่และการค้นคว้าทางโบราณคดีของข่ายลูกหลานเมืองแพร่
(พิพิธภัณฑ์นาตอง ย้ายไปมาแล้วเป็นครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559)

โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่
               พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยพบหลักฐานการประกอบกิจกรรม และการเข้ามาใช้พื้นที่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในปัจจุบัน คือ ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของบรรพบุรุษมนุษย์ โฮโมอีเรคตัส (Homo Erectus) จากแหล่งโบราณคดีดอยท่าก้า บ้านหาดปู่ด้าย อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กำหนดอายุได้ราว ๑ ล้านปีถึง ๔๐๐,๐๐๐ ปี  นอกจากนั้นยังค้นพบเครื่องมือหินกะเทาะในพื้นที่ทางตะวันตก ตอนกลาง และตะวันออกของภาคเหนือ ในเขตจังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ และน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครื่องมือของมนุษย์ยุคน้ำแข็งหรือมนุษย์ในสมัยหินเก่า
               ต่อมาในสมัยหินกลางซึ่งถือการพบเครื่องมือหินแบบฮัวบินเนียนหรือเครื่องมือหินกะเทาะประเภทแกนหินตามรูปแบบวัฒนธรรมฮัวบินเนียนเป็นหลัก สมัยหินใหม่ ต่อเนื่องถึงสมัยโลหะทั้งสมัยสำริดและสมัยเหล็กนั้น ในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณเขตแอ่งหรือที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาได้พบหลักฐานและข้อมูลทางโบราณคดีแสดงถึงการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องตามเขตพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน
               สุภาพร นาคบัลลังค์และชินณวุฒิ วิลยาลัย   จำแนกไว้เบื้องต้นใน ๕ กลุ่มบริเวณด้วยกัน คือ
1.            แอ่งที่ราบลำปาง พบหลักฐานตั้งแต่สมัยหินเก่าราว ๗๐๐,๐๐๐๖๐๐,๐๐๐ ปีที่มาแล้วต่อเนื่องถึงสมัยหินใหม่และสมัยประวัติศาสตร์
2.            พื้นที่สูงในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ สมัยวัฒนธรรมโลงไม้ซึ่งกำหนดอายุได้ราว ๒,๒๐๐,๒๐๐ ปีมาแล้ว ต่อเนื่องถึงสมัยประวัติศาสตร์
3.            แอ่งที่ราบเชียงราย พบหลักฐานเครื่องมือสมัยหินกลางและสมัยหินใหม่ ก่อนขาดช่วงไปจนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
4.            แอ่งที่ราบน่าน-เวียงสา และแอ่งที่ราบนาน้อย-นาหมื่น พบหลักฐานที่กำหนดอายุได้ถึงสมัยหินเก่า สมัยหินใหม่ และสมัยโลหะทางพื้นที่ด้านทิศตะวันออก
5.            แอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน พบหลักฐานทั้งเครื่องมือหินกะเทาะและหลักฐานอื่นๆ ของชุมชนสมัยเหล็กหรือโลหะตอนปลายทั้งหลุมฝังศพ เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ฯลฯ ต่อเนื่องถึงพัฒนาการขึ้นเป็นเมืองหรือชุมชนสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ล้านนา
               ส่วนพื้นที่ในเขตแอ่งแพร่ พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเขตพื้นที่อื่น  อีกทั้งยังไม่มีความแน่ชัดในเรื่องของการกำหนดอายุสมัยทั้งเชิงเทียบและในเชิงสัมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จากการทบทวนเอกสารเบื้องต้นพบว่าในเขตแอ่งแพร่นั้นได้มีการสำรวจทางโบราณคดีเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. ๒๕๑๕ และ ๒๕๑๗ โดย เปีย ซอเรนเซ็น (Per Sorensen) นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก เป็นการสำรวจพื้นที่ในแอ่งลำปาง (แหล่งโบราณคดีแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) และแอ่งแพร่ (แหล่งโบราณคดีแพะเมืองผี อำเภอเมืองแพร่ และแหล่งโบราณคดีไม่ทราบชื่อและตำแหน่งแน่ชัดในเขตอำเภอเมืองแพร่อำเภอร้องกวาง และอำเภอสอง) ได้พบหลักฐานเครื่องมือหินสมัยหินเก่าตอนต้นถึงตอนกลาง ส่วนกลุ่มหลักฐานเครื่องมือสะเก็ดหินกรวดแม่น้ำหรือหินทรายที่ประกอบด้วยแร่ควอร์ทไซท์ละเอียดที่พบจากแหล่งโบราณคดีแพะเมืองผี รวมถึงแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในเขตจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีซึ่งตั้งในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงในระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 200225 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง น่าจะมีอายุเชิงเทียบจากลำดับทับถมของชั้นตะกอนตามสมัยทางธรณีวิทยาคือสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง (Middle Pleistocene) หรือประมาณ ๗๓๐,๐๐๐๑๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้วแต่ไม่สามารถกำหนดอายุอย่างแน่ชัดได้
               ปัจจุบันมีโครงการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีถ้ำปู่ปันตาหมี บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ชุมชน และศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO-SPAFA)หรือเรียกสั้น ๆ ว่าศูนย์สปาฟาพบหลักฐานทางโบราณดีประเภทเครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผาและโครงกระดูกมนุษย์ และมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ได้ว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว  ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ถือเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งแรกในพื้นที่แอ่งแพร่
โครงการโบราณคดีชุมชนบ้านนาตอง
โครงการโบราณคดีชุมชนบ้านนาตองเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชุมชนบ้านนาตอง โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักศิลปากรที่ ๗ จ.น่าน คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กรมศิลปากร กศน.แพร่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย สถานีอนามัยบ้านนาตอง โรงเรียนบ้านนาตอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านนาตอง โดยให้ชุมชนเป็นผู้ร่วมศึกษาและขุดค้นแหล่งโบราณคดี รวมถึงดูแลรักษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีด้วยตนเอง
บ้านนาตองเป็นชื่อหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งในอำเภอเมืองแพร่ มีชื่อในทางการปกครองว่า บ้านนาตอง หมู่ที่ 9 ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่บนเส้นทางช่อแฮภูพญา หมู่บ้านมีลำห้วยแม่ก๋อนไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเล็ก ๆ ในหุบเขา ทิวเขาที่แวดล้อมหมู่บ้านมีถ้ำขนาดเล็กและใหญ่หลายถ้ำ ที่น่าสนใจมี ๓ ถ้ำ คือถ้ำปู่ปันตาหมี ถ้ำพระ และถ้ำรันตู
               เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวบ้านนาตองว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคโบราณในถ้ำทั้ง ๓ แห่ง โดยเฉพาะถ้ำปู่ปันตาหมี ซึ่งปรากฎขวานหินมีบ่าและเศษกระดูกมนุษย์กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นถ้ำ สามารถพบเห็นได้ไม่ยาก เพียงแต่คุ้ยตามพื้นถ้ำในระดับประมาณ ๔-๕ นิ้ว
               ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ได้ประสานงานกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ให้แจ้งกับสำนักศิลปากรที่ ๗ จ.น่าน เพื่อทำการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการ และได้รับคำยืนยันว่าบริเวณถ้ำทั้งสามแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ,๐๐๐ ปี
ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะจากศูนย์สปาฟาและข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ร่วมกับ ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดีชุมชนอาวุโส ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เดินทางมาสำรวจแหล่งโบราณคดีที่บ้านนาตองอีกครั้ง ศ.สายันต์ให้ความเห็นว่าแหล่งโบราณคดีนี้น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ,๐๐๐ ปี เนื่องจากพบขวานหินขัดคล้ายกับขวานหินประเภทบัคซอนเนียน (Bacsonian) ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือของไทยและประเทศเวียดนาม
เมื่อได้ทราบข้อมูลชั้นต้นที่ชัดเจน คณะกรรมการหมู่บ้านนาตองและผู้ใหญ่บ้าน (นายประเสริฐ สีใหม่) ได้มีมติให้อนุรักษ์แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและของจังหวัดแพร่ต่อไปและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (นายสันติ ศุภวงศ์) จึงได้ทราบว่าชุมชนบ้านนาตองมีความต้องการศึกษาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีนี้ให้เป็น ทางคณะสำรวจจึงแนะนำให้คณะกรรมการหมู่บ้านดำเนินการขออนุญาตกรมศิลปากรเพื่อทำการขุดค้นแหล่งโบราณคดีร่วมกับนักโบราณคดีเพื่อขยายผลการศึกษาให้ละเอียดชัดเจนมากขึ้น

การขุดค้นและการศึกษา
เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรแล้ว ศูนย์สปาฟา ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชุมชนบ้านนาตองจึงได้กำหนดการขุดค้นเพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดีในระยะที่หนึ่งตั้งแต่วันที่ ๑๐ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒เป็นเวลา 15 วัน การขุดค้นระยะที่ ๒ เริ่มต้นในวันที่ ๔ ๑๕ มีนาคม เป็นเวลา ๑๒ วัน และระยะที่ ๓ วันที่ ๔๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเวลา ๓ วัน โดยชาวบ้านนาตองได้ร่วมขุดค้นเพื่อศึกษาอดีตของบ้านนาตองร่วมกับนักโบราณคดีของศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักศิลปากรที่ ๗ จังหวัดน่าน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่(กศน.แพร่) ให้นักศึกษาที่เป็นชาวบ้านนาตองเข้าร่วมศึกษาแหล่งโบราณคดี และหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย อนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยฯเข้าร่วมการขุดค้นตลอดระยะเวลาดำเนินงาน มีชาวนาตองรวมทั้งสิ้น ๑๕ คนเข้าร่วมการขุดค้นและได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมรวมถึงผู้สนับสนุนการขุดค้นในวันที่ ๒๓ มกราคม โดยมีหัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ให้เกียรติเป็นผู้มอบประกาศนียบัตรที่ถ้ำปู่ปันตาหมี นอกจากนี้ยังมีนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจจากจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียงมาเยี่ยมชมหลุมขุดค้นและได้ช่วยขุดค้นด้วยอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักศึกษาฝึกงานจากสำนักศิลปากรที่ ๗ จังหวัดน่านอีกด้วย
การขุดค้นในระยะที่หนึ่ง ได้เลือกขุดในถ้ำปู่ปันตาหมี แบ่งออกเป็น ๒ หลุม ได้แก่หลุมปู่ปัน ๑ ซึ่งมีขนาด ๓ x ๓ เมตร อยู่ด้านหน้าถ้ำใกล้กับที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนหลุมปู่ปัน ๒ อยู่ด้านในสุดของถ้ำ มีขนาด ๑.๕ x ๓ ม. จากการสำรวจและขุดค้นหลุมปู่ปัน ๑ พบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีได้แก่เครื่องมือหินประเภทต่างๆ เช่นขวานหิน ค้อนหิน หินสำหรับลับเครื่องมือ รวมถึงชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบเป็นจำนวนน้อย ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ทั้งที่เผาไฟและไม่เผาไฟ และเปลือกหอย หลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจคือชิ้นส่วนกรามบนของมนุษย์ ๒ ชิ้นที่ได้จากการขุดค้น เครื่องมือหินประเภทหินกลมเจาะรูขนาดต่างๆ และชิ้นส่วนเครื่องประดับทำจากเปลือกหอย ส่วนที่หลุมปู่ปัน ๒ นอกจากเครื่องมือหิน ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์แล้ว เมื่อขุดไปได้ประมาณ ๕๐ ซ.ม. จากผิวดิน (๖๐ cm.dt.) พบโครงกระดูกมนุษย์ตั้งแต่ต้นขาถึงปลายเท้า ร่างกายท่อนบนอยู่ในผนังหลุมขุดค้น หากต้องการขุดทั้งโครงต้องทำการขยายหลุมเพิ่ม เนื่องด้วยเวลาในขณะนั้นมีจำกัด คณะขุดค้นจึงตัดสินใจกลบหลุมปู่ปัน ๒ ด้วยทรายเพื่อให้กระดูกแห้ง และรอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกจากกรมศิลปากรเข้าร่วมการขุดค้นระยะที่ ๒ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒
ผลจากการขุดค้นในระยะที่ ๑ จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนกระดูกโดยคุณประพิศ พงษ์มาศ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร พบว่าหลุมปู่ปัน ๑ มีชิ้นส่วนกระดูกของมนุษย์อย่างต่ำ ๘ คน เป็นเด็กอย่างน้อย ๓ คน อายุ ๑-๘ ปี และ ผู้ใหญ่อย่างน้อย ๕ คน อายุตั้งแต่ ๑๕-๔๕ ปี ทั้งนี้ พื้นที่หลุมปู่ปัน ๑ บางส่วนถูกรบกวนจากการขุดรื้อค้นโดยพระภิกษุที่เคยมาจำพรรษาในถ้ำ การกำหนดอายุจึงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม สามารถสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นแหล่งฝังศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ ประมาณอายุที่ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์และเครื่องมือหินจำนวนมากและไม่พบหลักฐานของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ
ในการขุดค้นระยะที่สองระหว่างวันที่ ๔ - ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกจากกรมศิลปากร คือคุณประพิศ พงษ์มาศ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้แก่ รศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธิ์ ได้เข้าร่วมการขุดค้นในช่วงแรก การขุดค้นครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยเข้าร่วมการขุดค้น รวมถึงมีชาวบ้านนาตองจำนวนหนึ่งเข้าร่วมการขุดค้นด้วย คณะได้ทำการขุดค้นต่อจากระยะที่ ๑ จนพบโครงกระดูกมนุษย์เพศชายเต็มโครง และได้ยกโครงกระดูกขึ้นจากหลุมและนำมาเก็บไว้ที่ศาลาอเนกประสงค์ วัดนาตอง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดธรรมานุภาพ) ก่อนที่จะดำเนินการขุดค้นต่อไปจนถึงระยะที่ ๓ ในวันที่ ๔-  ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และจบการขุดค้นเมื่อไม่พบร่องรอยของวัฒนธรรมมนุษย์แล้ว

จากการวิเคราะห์กระดูกจากหลุมขุดค้นในถ้ำปู่ปันตาหมี พบว่ามีกระดูกของมนุษย์รวมไม่ต่ำกว่า ๙ คนด้วยกัน ได้แก่เด็กอายุ ๑-๕ ปี ๒ คน เด็กอายุ ๕-๘ ปี ๑ คน วัยรุ่นอายุ ๑๕-๒๕ ปี ๒ คน ผู้ใหญ่อายุ ๒๕-๓๕ ปี ๑ คน และผู้ใหญ่อายุ ๓๕-๔๕ ปี ๒ ส่วนโครงกระดูกที่พบที่หลุมปู่ปัน ๒ เป็นเพศชายอายุประมาณ ๓๕-๔๕ ปี สูงประมาณ ๑๕๙-๑๖๒ ซ.ม. น่าจะเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บที่ขาเนื่องการการเรียงตัวของกระดูกขาผิดหลักกายวิภาคคนเหล่านี้น่าจะรับประทานอาหารประเภทเนื้อดิบเป็นส่วนมากเพราะฟันสึกมากจนถึงเนื้อฟันในลักษณะเรียบเท่ากันทั้งหมด และมีอาหารประเภทแป้งน้อยเพราะฟันส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยผุ
จากการวิเคราะห์กระดูกสัตว์ พบสัตว์หลายประเภทที่น่าจะเป็นอาหารของคนโบราณ เช่น เต่า ปลา ปู หอย วัว ควาย หมี หมาไม้ เก้ง กวาง ลิง ตะกวด แรด หมู หมูหริ่ง งู กระรอก อ้น ตุ่น เม่น ชะมด เห็น ไก่  สัตว์ที่พบมากที่สุดได้แก่ วัว ควาย เก้ง กวาง และหมู ซึ่งน่าจะเป็นอาหารหลัก และยังพบชิ้นส่วนกระดูกสุนัขซึ่งน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง
เครื่องมือหินที่มีความโดดเด่นน่าสนใจ ได้แก่ เครื่องมือหินกลมเจาะรู ซึ่งพบทั้งแบบที่อยู่ในขณะเตรียมการเจาะ แบบที่เจาะยังไม่เสร็จ แบบที่สมบูรณ์ และแบบหักครึ่ง เมื่อนับปริมาณของหินกลมเจาะรูทั้งที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ที่พบในถ้ำและบริเวณหมู่บ้านน่าจะไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการใช้เครื่องมือที่โดดเด่น เครื่องมือหินกลมเจาะรูนี้พบบ้างที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากการขุดค้นที่เพิงผาบ้านไร่ อ. ปางมะผ้า โดย ผศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และที่แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่หลายแห่งในตอนเหนือของประเทศพม่าจากการสำรวจของ ดร.เอลิซาเบธ มัวร์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ถึงแม้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเครื่องมือหินกลมเจาะรูหรือที่เรียกง่ายๆว่า หินโดนัทนี้ใช้ทำอะไร คุณลุงสวัสดิ์ เพียงใจ ชาวบ้านนาตองได้สาธิตให้ดูว่าสามารถนำมาใช้เป็นหินถ่วงน้ำหนักของสว่าน หรือที่เรียกว่า เหล็กจีเพื่อเจาะรูได้ และมีชาวบ้านนาตองผู้หญิงอีกท่านเล่าว่าบรรพบุรุษใช้หินนี้ทำเหล็กจีซึ่งเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว ความรู้นี้ถือเป็นส่วนสำคัญมากที่แสดงถึงทักษะในการดัดแปลงและการใช้เครื่องมือของมนุษย์ซึ่งนับเป็นก้าวแรกเพื่อสืบหาการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือหินชนิดนี้

เป็นที่น่าสนใจว่า ดร. ธิติ ตุลยาทิตย์ นักธรณีวิทยาได้ให้ความรู้ไว้ว่าหินบางชนิดที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเป็นหินที่พบได้ตามธรรมชาติที่ อ.ลอง จ.แพร่ บางชนิดเป็นหินภูเขาไฟ และบางชนิดเป็นหินที่ไม่พบในบริเวณจังหวัดแพร่ จึงสามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างชุมชนที่บ้านนาตองกับชุมชนโบราณอื่น ๆ ในจังหวัดแพร่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ ในถ้ำปู่ปันตาหมีมีกองหินปูน (แคลเซี่ยมคาร์บอเนต) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดตามธรรมชาติจากการก่อตัวของหินปูนจากน้ำที่ไหลลงมาตามผนังถ้ำ กองหินปูนดังกล่าวมีเศษภาชนะดินเผา เศษกระดูกทั้งคนและสัตว์ติดกระจัดกระจายทั่วไป ดร. ธิติ ให้ความเห็นว่ากองหินปูนนี้มีอายุประมาณ ๕๐๐ ปี จึงสันนิษฐานได้ว่าเมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีที่แล้ว มีการขุดพื้นถ้ำเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างและนำดินมากองรวมกันที่ผนังถ้ำ ในดินนั้นประกอบด้วยโบราณวัตถุและเศษกระดูกซึ่งอยู่ภายในพื้นถ้ำแต่เดิม จากนั้นเกิดการก่อตัวของหินปูนปกคลุมจนเป็นสภาพดังปัจจุบัน
ผลสรุปการขุดค้น
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอดีตของเมืองแพร่และของประเทศไทยโดยรวม ศูนย์สปาฟาจึงตัดสินใจส่งชิ้นส่วนกระดูกซี่โครงมนุษย์ไปทำการตรวจหาอายุที่ศูนย์วิจัย Beta Analytic Inc. รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิธี Accelerator Mass Spectrometry หรือ AMS Radiocarbon Dating ซึ่งจะให้ค่าอายุที่แน่นอนและใช้ปริมาณโบราณวัตถุจำนวนน้อยกว่าวิธี Radiocarbon Dating แบบเดิม ผลการตรวจอายุพบว่าโครงกระดูกที่พบในหลุมปู่ปัน ๒ มีอายุประมาณ ๔,๕๐๐ ปี

จากการศึกษาขุดค้นและการตรวจสอบอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีที่ถ้ำปู่ปันตาหมีน่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่และต่อมากลายเป็นแหล่งฝังศพและมีการทิ้งร้างไป มนุษย์ในสมัยนั้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามถ้ำและเพิงผา หาอาหารจากการหาของป่าล่าสัตว์และน่าจะเริ่มรู้จักทำการเกษตรบ้างแล้ว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก มนุษย์เหล่านี้กินอาหารประเภทพืช เมล็ดพืช และอาหารจำพวกแป้งน้อย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่เนื้อสัตว์ค่อนข้างดิบ ฟันจึงเสื่อมสภาพเร็ว และไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน คนส่วนใหญ่จึงเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย อย่างไรก็ตามมนุษย์กลุ่มนี้มีความสามารถในการทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน โดยเฉพาะหินกลมเจาะรูที่ผลิตเป็นจำนวนมากจนน่าเชื่อว่าเป็นสินค้าที่นำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าประเภทอื่นที่หาไม่ได้ในบริเวณนี้หรือที่ชุมชนนี้ไม่สามารถทำได้เอง เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหินบางประเภท และเครื่องประดับ
เมื่อเสร็จสิ้นการขุดค้น ชาวบ้านนาตองได้สร้างห้องจัดแสดงขนาดเล็กเรียกว่า พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านนาตองในบริเวณศาลาวัดนาตอง (ปัจจุบันคือวัดธรรมานุภาพ) และมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมมากมายทั้งจากในจังหวัดแพร่และจากที่อื่นๆ จากนั้นได้มีการโยกย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดค้นได้มาที่อาคารของโรงเรียนบ้านนาตองซึ่งไม่มีการเรียนการสอนแล้ว และมีการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวขนาดเล็กเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี ดูแลโดยชาวบ้านนาตองปัจจุบันนี้ โบราณวัตถุทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมานุภาพ และอยู่ระหว่างการรอคอยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากท้องถิ่นหลายภาคส่วนรวมถึงชาวบ้านนาตองเองที่จะทำหน้าที่เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมและเป็นผู้ดูแลรักษาแหล่งโบราณคดีรวมถึงโบราณวัตถุต่างๆ ทั้งนี้ ยังมีการพบโบราณวัตถุอยู่เนือง ๆ ในบริเวณอื่นของบ้านนาตอง การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างเร่งด่วนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในแก่ชาวบ้านนาตองในการดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ และก่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเรื่องอดีตของเมืองแพร่อย่างต่อเนื่อง
การศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านนาตองนี้จึงนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองแพร่ เนื่องจากเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งแรกในภาคเหนือฝั่งตะวันออกที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบโดยมีชุมชนร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และไม่เคยมีการศึกษา ขุดค้น และขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดแพร่มาก่อนเลย ผลที่ได้จากโครงการนี้จึงเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์โบราณในภาคเหนือ ช่วยให้ชาวบ้านนาตองและชาวแพร่เองได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของตนเองพร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนอื่นได้ และช่วยให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิด เกิดความรักและผูกพันกับแหล่งมรดกวัฒนธรรม รวมทั้งช่วยให้เกิดความสามัคคี และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องรากเหง้าของตนเองซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน           


จัดพิพิธภัณฑ์กันใหม่ กับ เรื่องราวนำเสนอ ใน บทที่ ๒  (การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในเมืองแพร่) หนังสือประวัติศาสตร์แพร่
หลักฐานที่ค้นพบใหม่และการค้นคว้าทางโบราณคดีของข่ายลูกหลานเมืองแพร่
โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่
               พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยพบหลักฐานการประกอบกิจกรรม และการเข้ามาใช้พื้นที่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในปัจจุบัน คือ ชิ้นส่วนกะโหลกศีรษะของบรรพบุรุษมนุษย์ โฮโมอีเรคตัส (Homo Erectus) จากแหล่งโบราณคดีดอยท่าก้า บ้านหาดปู่ด้าย อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กำหนดอายุได้ราว ๑ ล้านปีถึง ๔๐๐,๐๐๐ ปี[1]  นอกจากนั้นยังค้นพบเครื่องมือหินกะเทาะในพื้นที่ทางตะวันตก ตอนกลาง และตะวันออกของภาคเหนือ ในเขตจังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ และน่าน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครื่องมือของมนุษย์ยุคน้ำแข็งหรือมนุษย์ในสมัยหินเก่า[2]
               ต่อมาในสมัยหินกลางซึ่งถือการพบเครื่องมือหินแบบฮัวบินเนียนหรือเครื่องมือหินกะเทาะประเภทแกนหินตามรูปแบบวัฒนธรรมฮัวบินเนียนเป็นหลัก สมัยหินใหม่ ต่อเนื่องถึงสมัยโลหะทั้งสมัยสำริดและสมัยเหล็กนั้น ในเขตภาคเหนือโดยเฉพาะบริเวณเขตแอ่งหรือที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาได้พบหลักฐานและข้อมูลทางโบราณคดีแสดงถึงการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องตามเขตพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน
               สุภาพร นาคบัลลังค์และชินณวุฒิ วิลยาลัย[3]  จำแนกไว้เบื้องต้นใน ๕ กลุ่มบริเวณด้วยกัน คือ
1.            แอ่งที่ราบลำปาง พบหลักฐานตั้งแต่สมัยหินเก่าราว ๗๐๐,๐๐๐๖๐๐,๐๐๐ ปีที่มาแล้วต่อเนื่องถึงสมัยหินใหม่และสมัยประวัติศาสตร์
2.            พื้นที่สูงในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ สมัยวัฒนธรรมโลงไม้ซึ่งกำหนดอายุได้ราว ๒,๒๐๐,๒๐๐ ปีมาแล้ว ต่อเนื่องถึงสมัยประวัติศาสตร์
3.            แอ่งที่ราบเชียงราย พบหลักฐานเครื่องมือสมัยหินกลางและสมัยหินใหม่ ก่อนขาดช่วงไปจนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์
4.            แอ่งที่ราบน่าน-เวียงสา และแอ่งที่ราบนาน้อย-นาหมื่น พบหลักฐานที่กำหนดอายุได้ถึงสมัยหินเก่า สมัยหินใหม่ และสมัยโลหะทางพื้นที่ด้านทิศตะวันออก
5.            แอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน พบหลักฐานทั้งเครื่องมือหินกะเทาะและหลักฐานอื่นๆ ของชุมชนสมัยเหล็กหรือโลหะตอนปลายทั้งหลุมฝังศพ เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ฯลฯ ต่อเนื่องถึงพัฒนาการขึ้นเป็นเมืองหรือชุมชนสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ล้านนา
               ส่วนพื้นที่ในเขตแอ่งแพร่ พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเขตพื้นที่อื่น  อีกทั้งยังไม่มีความแน่ชัดในเรื่องของการกำหนดอายุสมัยทั้งเชิงเทียบและในเชิงสัมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จากการทบทวนเอกสารเบื้องต้นพบว่าในเขตแอ่งแพร่นั้นได้มีการสำรวจทางโบราณคดีเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. ๒๕๑๕ และ ๒๕๑๗ โดย เปีย ซอเรนเซ็น (Per Sorensen) นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก เป็นการสำรวจพื้นที่ในแอ่งลำปาง (แหล่งโบราณคดีแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) และแอ่งแพร่ (แหล่งโบราณคดีแพะเมืองผี อำเภอเมืองแพร่ และแหล่งโบราณคดีไม่ทราบชื่อและตำแหน่งแน่ชัดในเขตอำเภอเมืองแพร่อำเภอร้องกวาง และอำเภอสอง)[4] ได้พบหลักฐานเครื่องมือหินสมัยหินเก่าตอนต้นถึงตอนกลาง ส่วนกลุ่มหลักฐานเครื่องมือสะเก็ดหินกรวดแม่น้ำหรือหินทรายที่ประกอบด้วยแร่ควอร์ทไซท์ละเอียดที่พบจากแหล่งโบราณคดีแพะเมืองผี รวมถึงแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในเขตจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีซึ่งตั้งในเขตที่ราบน้ำท่วมถึงในระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 200225 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง น่าจะมีอายุเชิงเทียบจากลำดับทับถมของชั้นตะกอนตามสมัยทางธรณีวิทยาคือสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง (Middle Pleistocene) หรือประมาณ ๗๓๐,๐๐๐๑๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้วแต่ไม่สามารถกำหนดอายุอย่างแน่ชัดได้[5]
               ปัจจุบันมีโครงการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีถ้ำปู่ปันตาหมี บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ชุมชน และศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO-SPAFA)หรือเรียกสั้น ๆ ว่าศูนย์สปาฟาพบหลักฐานทางโบราณดีประเภทเครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผาและโครงกระดูกมนุษย์ และมีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ได้ว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว  ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ถือเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งแรกในพื้นที่แอ่งแพร่
โครงการโบราณคดีชุมชนบ้านนาตอง
โครงการโบราณคดีชุมชนบ้านนาตองเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชุมชนบ้านนาตอง โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ สำนักศิลปากรที่ ๗ จ.น่าน คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กรมศิลปากร กศน.แพร่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย สถานีอนามัยบ้านนาตอง โรงเรียนบ้านนาตอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านนาตอง โดยให้ชุมชนเป็นผู้ร่วมศึกษาและขุดค้นแหล่งโบราณคดี รวมถึงดูแลรักษา อนุรักษ์ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีด้วยตนเอง
บ้านนาตองเป็นชื่อหมู่บ้านเก่าแก่แห่งหนึ่งในอำเภอเมืองแพร่ มีชื่อในทางการปกครองว่า บ้านนาตอง หมู่ที่ 9 ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่บนเส้นทางช่อแฮภูพญา หมู่บ้านมีลำห้วยแม่ก๋อนไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเล็ก ๆ ในหุบเขา ทิวเขาที่แวดล้อมหมู่บ้านมีถ้ำขนาดเล็กและใหญ่หลายถ้ำ ที่น่าสนใจมี ๓ ถ้ำ คือถ้ำปู่ปันตาหมี ถ้ำพระ และถ้ำรันตู
               เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวบ้านนาตองว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคโบราณในถ้ำทั้ง ๓ แห่ง โดยเฉพาะถ้ำปู่ปันตาหมี ซึ่งปรากฎขวานหินมีบ่าและเศษกระดูกมนุษย์กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นถ้ำ สามารถพบเห็นได้ไม่ยาก เพียงแต่คุ้ยตามพื้นถ้ำในระดับประมาณ ๔-๕ นิ้ว
               ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ได้ประสานงานกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ให้แจ้งกับสำนักศิลปากรที่ ๗ จ.น่าน เพื่อทำการสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการ และได้รับคำยืนยันว่าบริเวณถ้ำทั้งสามแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ,๐๐๐ ปี
ในวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะจากศูนย์สปาฟาและข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ร่วมกับ ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดีชุมชนอาวุโส ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เดินทางมาสำรวจแหล่งโบราณคดีที่บ้านนาตองอีกครั้ง ศ.สายันต์ให้ความเห็นว่าแหล่งโบราณคดีนี้น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ,๐๐๐ ปี เนื่องจากพบขวานหินขัดคล้ายกับขวานหินประเภทบัคซอนเนียน (Bacsonian) ซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือของไทยและประเทศเวียดนาม
เมื่อได้ทราบข้อมูลชั้นต้นที่ชัดเจน คณะกรรมการหมู่บ้านนาตองและผู้ใหญ่บ้าน (นายประเสริฐ สีใหม่) ได้มีมติให้อนุรักษ์แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและของจังหวัดแพร่ต่อไปและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (นายสันติ ศุภวงศ์) จึงได้ทราบว่าชุมชนบ้านนาตองมีความต้องการศึกษาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีนี้ให้เป็น ทางคณะสำรวจจึงแนะนำให้คณะกรรมการหมู่บ้านดำเนินการขออนุญาตกรมศิลปากรเพื่อทำการขุดค้นแหล่งโบราณคดีร่วมกับนักโบราณคดีเพื่อขยายผลการศึกษาให้ละเอียดชัดเจนมากขึ้น

การขุดค้นและการศึกษา
เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรแล้ว ศูนย์สปาฟา ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และชุมชนบ้านนาตองจึงได้กำหนดการขุดค้นเพื่อศึกษาแหล่งโบราณคดีในระยะที่หนึ่งตั้งแต่วันที่ ๑๐ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒เป็นเวลา 15 วัน การขุดค้นระยะที่ ๒ เริ่มต้นในวันที่ ๔ ๑๕ มีนาคม เป็นเวลา ๑๒ วัน และระยะที่ ๓ วันที่ ๔๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเวลา ๓ วัน โดยชาวบ้านนาตองได้ร่วมขุดค้นเพื่อศึกษาอดีตของบ้านนาตองร่วมกับนักโบราณคดีของศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปาฟา) ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักศิลปากรที่ ๗ จังหวัดน่าน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่(กศน.แพร่) ให้นักศึกษาที่เป็นชาวบ้านนาตองเข้าร่วมศึกษาแหล่งโบราณคดี และหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย อนุเคราะห์ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยฯเข้าร่วมการขุดค้นตลอดระยะเวลาดำเนินงาน มีชาวนาตองรวมทั้งสิ้น ๑๕ คนเข้าร่วมการขุดค้นและได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมรวมถึงผู้สนับสนุนการขุดค้นในวันที่ ๒๓ มกราคม โดยมีหัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ให้เกียรติเป็นผู้มอบประกาศนียบัตรที่ถ้ำปู่ปันตาหมี นอกจากนี้ยังมีนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจจากจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียงมาเยี่ยมชมหลุมขุดค้นและได้ช่วยขุดค้นด้วยอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักศึกษาฝึกงานจากสำนักศิลปากรที่ ๗ จังหวัดน่านอีกด้วย
การขุดค้นในระยะที่หนึ่ง ได้เลือกขุดในถ้ำปู่ปันตาหมี แบ่งออกเป็น ๒ หลุม ได้แก่หลุมปู่ปัน ๑ ซึ่งมีขนาด ๓ x ๓ เมตร อยู่ด้านหน้าถ้ำใกล้กับที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนหลุมปู่ปัน ๒ อยู่ด้านในสุดของถ้ำ มีขนาด ๑.๕ x ๓ ม. จากการสำรวจและขุดค้นหลุมปู่ปัน ๑ พบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีได้แก่เครื่องมือหินประเภทต่างๆ เช่นขวานหิน ค้อนหิน หินสำหรับลับเครื่องมือ รวมถึงชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบเป็นจำนวนน้อย ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ทั้งที่เผาไฟและไม่เผาไฟ และเปลือกหอย หลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจคือชิ้นส่วนกรามบนของมนุษย์ ๒ ชิ้นที่ได้จากการขุดค้น เครื่องมือหินประเภทหินกลมเจาะรูขนาดต่างๆ และชิ้นส่วนเครื่องประดับทำจากเปลือกหอย ส่วนที่หลุมปู่ปัน ๒ นอกจากเครื่องมือหิน ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์แล้ว เมื่อขุดไปได้ประมาณ ๕๐ ซ.ม. จากผิวดิน (๖๐ cm.dt.) พบโครงกระดูกมนุษย์ตั้งแต่ต้นขาถึงปลายเท้า ร่างกายท่อนบนอยู่ในผนังหลุมขุดค้น หากต้องการขุดทั้งโครงต้องทำการขยายหลุมเพิ่ม เนื่องด้วยเวลาในขณะนั้นมีจำกัด คณะขุดค้นจึงตัดสินใจกลบหลุมปู่ปัน ๒ ด้วยทรายเพื่อให้กระดูกแห้ง และรอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกจากกรมศิลปากรเข้าร่วมการขุดค้นระยะที่ ๒ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒
ผลจากการขุดค้นในระยะที่ ๑ จากการวิเคราะห์ชิ้นส่วนกระดูกโดยคุณประพิศ พงษ์มาศ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร พบว่าหลุมปู่ปัน ๑ มีชิ้นส่วนกระดูกของมนุษย์อย่างต่ำ ๘ คน เป็นเด็กอย่างน้อย ๓ คน อายุ ๑-๘ ปี และ ผู้ใหญ่อย่างน้อย ๕ คน อายุตั้งแต่ ๑๕-๔๕ ปี ทั้งนี้ พื้นที่หลุมปู่ปัน ๑ บางส่วนถูกรบกวนจากการขุดรื้อค้นโดยพระภิกษุที่เคยมาจำพรรษาในถ้ำ การกำหนดอายุจึงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม สามารถสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นแหล่งฝังศพในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ ประมาณอายุที่ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์และเครื่องมือหินจำนวนมากและไม่พบหลักฐานของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ
ในการขุดค้นระยะที่สองระหว่างวันที่ ๔ - ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกจากกรมศิลปากร คือคุณประพิศ พงษ์มาศ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้แก่ รศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธิ์ ได้เข้าร่วมการขุดค้นในช่วงแรก การขุดค้นครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ก๋อน-แม่สาย ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยเข้าร่วมการขุดค้น รวมถึงมีชาวบ้านนาตองจำนวนหนึ่งเข้าร่วมการขุดค้นด้วย คณะได้ทำการขุดค้นต่อจากระยะที่ ๑ จนพบโครงกระดูกมนุษย์เพศชายเต็มโครง และได้ยกโครงกระดูกขึ้นจากหลุมและนำมาเก็บไว้ที่ศาลาอเนกประสงค์ วัดนาตอง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดธรรมานุภาพ) ก่อนที่จะดำเนินการขุดค้นต่อไปจนถึงระยะที่ ๓ ในวันที่ ๔-  ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และจบการขุดค้นเมื่อไม่พบร่องรอยของวัฒนธรรมมนุษย์แล้ว

จากการวิเคราะห์กระดูกจากหลุมขุดค้นในถ้ำปู่ปันตาหมี พบว่ามีกระดูกของมนุษย์รวมไม่ต่ำกว่า ๙ คนด้วยกัน ได้แก่เด็กอายุ ๑-๕ ปี ๒ คน เด็กอายุ ๕-๘ ปี ๑ คน วัยรุ่นอายุ ๑๕-๒๕ ปี ๒ คน ผู้ใหญ่อายุ ๒๕-๓๕ ปี ๑ คน และผู้ใหญ่อายุ ๓๕-๔๕ ปี ๒ ส่วนโครงกระดูกที่พบที่หลุมปู่ปัน ๒ เป็นเพศชายอายุประมาณ ๓๕-๔๕ ปี สูงประมาณ ๑๕๙-๑๖๒ ซ.ม. น่าจะเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บที่ขาเนื่องการการเรียงตัวของกระดูกขาผิดหลักกายวิภาคคนเหล่านี้น่าจะรับประทานอาหารประเภทเนื้อดิบเป็นส่วนมากเพราะฟันสึกมากจนถึงเนื้อฟันในลักษณะเรียบเท่ากันทั้งหมด และมีอาหารประเภทแป้งน้อยเพราะฟันส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยผุ
จากการวิเคราะห์กระดูกสัตว์ พบสัตว์หลายประเภทที่น่าจะเป็นอาหารของคนโบราณ เช่น เต่า ปลา ปู หอย วัว ควาย หมี หมาไม้ เก้ง กวาง ลิง ตะกวด แรด หมู หมูหริ่ง งู กระรอก อ้น ตุ่น เม่น ชะมด เห็น ไก่  สัตว์ที่พบมากที่สุดได้แก่ วัว ควาย เก้ง กวาง และหมู ซึ่งน่าจะเป็นอาหารหลัก และยังพบชิ้นส่วนกระดูกสุนัขซึ่งน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง
เครื่องมือหินที่มีความโดดเด่นน่าสนใจ ได้แก่ เครื่องมือหินกลมเจาะรู ซึ่งพบทั้งแบบที่อยู่ในขณะเตรียมการเจาะ แบบที่เจาะยังไม่เสร็จ แบบที่สมบูรณ์ และแบบหักครึ่ง เมื่อนับปริมาณของหินกลมเจาะรูทั้งที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ที่พบในถ้ำและบริเวณหมู่บ้านน่าจะไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการใช้เครื่องมือที่โดดเด่น เครื่องมือหินกลมเจาะรูนี้พบบ้างที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากการขุดค้นที่เพิงผาบ้านไร่ อ. ปางมะผ้า โดย ผศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และที่แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่หลายแห่งในตอนเหนือของประเทศพม่าจากการสำรวจของ ดร.เอลิซาเบธ มัวร์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ถึงแม้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเครื่องมือหินกลมเจาะรูหรือที่เรียกง่ายๆว่า หินโดนัทนี้ใช้ทำอะไร คุณลุงสวัสดิ์ เพียงใจ ชาวบ้านนาตองได้สาธิตให้ดูว่าสามารถนำมาใช้เป็นหินถ่วงน้ำหนักของสว่าน หรือที่เรียกว่า เหล็กจีเพื่อเจาะรูได้ และมีชาวบ้านนาตองผู้หญิงอีกท่านเล่าว่าบรรพบุรุษใช้หินนี้ทำเหล็กจีซึ่งเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว ความรู้นี้ถือเป็นส่วนสำคัญมากที่แสดงถึงทักษะในการดัดแปลงและการใช้เครื่องมือของมนุษย์ซึ่งนับเป็นก้าวแรกเพื่อสืบหาการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือหินชนิดนี้

 เครื่องมือหินกลมเจาะรู
เป็นที่น่าสนใจว่า ดร. ธิติ ตุลยาทิตย์ นักธรณีวิทยาได้ให้ความรู้ไว้ว่าหินบางชนิดที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเป็นหินที่พบได้ตามธรรมชาติที่ อ.ลอง จ.แพร่ บางชนิดเป็นหินภูเขาไฟ และบางชนิดเป็นหินที่ไม่พบในบริเวณจังหวัดแพร่ จึงสามารถตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างชุมชนที่บ้านนาตองกับชุมชนโบราณอื่น ๆ ในจังหวัดแพร่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ ในถ้ำปู่ปันตาหมีมีกองหินปูน (แคลเซี่ยมคาร์บอเนต) ขนาดใหญ่ซึ่งเกิดตามธรรมชาติจากการก่อตัวของหินปูนจากน้ำที่ไหลลงมาตามผนังถ้ำ กองหินปูนดังกล่าวมีเศษภาชนะดินเผา เศษกระดูกทั้งคนและสัตว์ติดกระจัดกระจายทั่วไป ดร. ธิติ ให้ความเห็นว่ากองหินปูนนี้มีอายุประมาณ ๕๐๐ ปี จึงสันนิษฐานได้ว่าเมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีที่แล้ว มีการขุดพื้นถ้ำเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างและนำดินมากองรวมกันที่ผนังถ้ำ ในดินนั้นประกอบด้วยโบราณวัตถุและเศษกระดูกซึ่งอยู่ภายในพื้นถ้ำแต่เดิม จากนั้นเกิดการก่อตัวของหินปูนปกคลุมจนเป็นสภาพดังปัจจุบัน
ผลสรุปการขุดค้น
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอดีตของเมืองแพร่และของประเทศไทยโดยรวม ศูนย์สปาฟาจึงตัดสินใจส่งชิ้นส่วนกระดูกซี่โครงมนุษย์ไปทำการตรวจหาอายุที่ศูนย์วิจัย Beta Analytic Inc. รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิธี Accelerator Mass Spectrometry หรือ AMS Radiocarbon Dating ซึ่งจะให้ค่าอายุที่แน่นอนและใช้ปริมาณโบราณวัตถุจำนวนน้อยกว่าวิธี Radiocarbon Dating แบบเดิม ผลการตรวจอายุพบว่าโครงกระดูกที่พบในหลุมปู่ปัน ๒ มีอายุประมาณ ๔,๕๐๐ ปี

จากการศึกษาขุดค้นและการตรวจสอบอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีที่ถ้ำปู่ปันตาหมีน่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่และต่อมากลายเป็นแหล่งฝังศพและมีการทิ้งร้างไป มนุษย์ในสมัยนั้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามถ้ำและเพิงผา หาอาหารจากการหาของป่าล่าสัตว์และน่าจะเริ่มรู้จักทำการเกษตรบ้างแล้ว มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก มนุษย์เหล่านี้กินอาหารประเภทพืช เมล็ดพืช และอาหารจำพวกแป้งน้อย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่เนื้อสัตว์ค่อนข้างดิบ ฟันจึงเสื่อมสภาพเร็ว และไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน คนส่วนใหญ่จึงเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย อย่างไรก็ตามมนุษย์กลุ่มนี้มีความสามารถในการทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน โดยเฉพาะหินกลมเจาะรูที่ผลิตเป็นจำนวนมากจนน่าเชื่อว่าเป็นสินค้าที่นำไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าประเภทอื่นที่หาไม่ได้ในบริเวณนี้หรือที่ชุมชนนี้ไม่สามารถทำได้เอง เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือหินบางประเภท และเครื่องประดับ
เมื่อเสร็จสิ้นการขุดค้น ชาวบ้านนาตองได้สร้างห้องจัดแสดงขนาดเล็กเรียกว่า พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านนาตองในบริเวณศาลาวัดนาตอง (ปัจจุบันคือวัดธรรมานุภาพ) และมีผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมมากมายทั้งจากในจังหวัดแพร่และจากที่อื่นๆ จากนั้นได้มีการโยกย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดค้นได้มาที่อาคารของโรงเรียนบ้านนาตองซึ่งไม่มีการเรียนการสอนแล้ว และมีการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวขนาดเล็กเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี ดูแลโดยชาวบ้านนาตองปัจจุบันนี้ โบราณวัตถุทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมานุภาพ และอยู่ระหว่างการรอคอยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากท้องถิ่นหลายภาคส่วนรวมถึงชาวบ้านนาตองเองที่จะทำหน้าที่เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมและเป็นผู้ดูแลรักษาแหล่งโบราณคดีรวมถึงโบราณวัตถุต่างๆ ทั้งนี้ ยังมีการพบโบราณวัตถุอยู่เนือง ๆ ในบริเวณอื่นของบ้านนาตอง การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างเร่งด่วนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในแก่ชาวบ้านนาตองในการดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ และก่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้าเรื่องอดีตของเมืองแพร่อย่างต่อเนื่อง
การศึกษาแหล่งโบราณคดีบ้านนาตองนี้จึงนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองแพร่ เนื่องจากเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งแรกในภาคเหนือฝั่งตะวันออกที่มีการขุดค้นอย่างเป็นระบบโดยมีชุมชนร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และไม่เคยมีการศึกษา ขุดค้น และขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดแพร่มาก่อนเลย ผลที่ได้จากโครงการนี้จึงเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์โบราณในภาคเหนือ ช่วยให้ชาวบ้านนาตองและชาวแพร่เองได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของตนเองพร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนอื่นได้ และช่วยให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิด เกิดความรักและผูกพันกับแหล่งมรดกวัฒนธรรม รวมทั้งช่วยให้เกิดความสามัคคี และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องรากเหง้าของตนเองซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและการอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน           




[1]สมศักดิ์ ประมาณกิจและวัฒนา สุภวัน. หลักฐานมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุด (อายุ 1 ล้านปี –4 แสนปีมาแล้ว)”, สืบสายพันธุ์มนุษย์: การศึกษามานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2550.
[2]สุภาพร นาคบัลลังก์และชินณวุฒิ วิลยาลัย. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในล้านนาจากยุคน้ำแข็งไพลโตซีนสู่สมัยล้านนา.เชียงใหม่: โครงการจัดตั้งศูนย์โบราณคดีภาคเหนือ, 2550. หน้า 40.
[3]สุภาพร นาคบัลลังก์และชินณวุฒิ วิลยาลัย.อ้างแล้ว,หน้า 53.
[4]http://www.rasmishoocongdej.com/wp-content/uploads/06.pdf
[5]Sorensen, P. 2001. “A Reconsidering of the Chronology of the Early PalaeolithicLannathaian Culture of North Thailand”, Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 5: 138-41